วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภาพบรรยากาศห้องปฏิบัติการโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์


ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์



วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

ผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชื่อวิจัย   การศึกษาโครงสร้างของแมลงปอเข็ม
ผู้จัดทำ  นางสาวณัฐธิดา ขุมขำ
บทคัดย่อ
                จากการศึกษาโครงสร้างภายนอกของแมลงปอพบว่า ลักษณะภายนอกของแมลงอื่นๆ และสัตว์ที่มีลำตัวและขาเป็นข้อปล้อง (Arthropods) มีผนังของร่างกายเป็นส่วนที่แข็งที่ช่วยพยุงร่างกายอยู่ภายนอก (Exoskeleton) โครงสร้างของร่างกายของแมลงปอ แบ่งออกได้ 3 ส่วน คือ ส่วนหัว อก และท้อง มีขา 3 คู่ และมีปีก 3 คู่ ติดอยู่ที่อก โดยทุกส่วนเป็นโครงสร้างภายนอกของแมลงปอที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน และโครงสร้างภายในของแมลงปอ จากการศึกษาโครงสร้างภายในด้วยแว่นขยายพบว่า มีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ ภายในส่วนของท้องมีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาวบาง ส่วนของท้องอาจขยายพองออก หรือบางส่วนอาจจะแบน ปล้องท้องที่เห็นได้ชัดเจนมีจำนวน 10 ปล้อง ปล้องท้องปล้องแรกที่ติดกับอกมีขนาดสั้นมาก ปล้องที่ 2 ยาวกว่าเล็กน้อย ล้องที่ 3 – 7 เป็นปล้องที่ยาวที่สุด ปล้องที่ 8 – 9 ค่อนข้างสั้น ปล้องที่ 10 สั้นและมีขนาดเล็ก ส่วนบน cerci or superior appendages 1 คู่ และมีแพนหางส่วนล่าง (inferior appendages) อวัยวะในการผสมพันธุ์ของตัวเมีย (genital organs) จะอยู่ที่ด้านล่างของปล้องท้องปล้องที่ 8 และ 9 แมลงปอเข็มส่วนมากจะมีอวัยวะวางไข่ที่สมบูรณ์                                                               

ผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชื่อวิจัย   การสำรวจแพลงก์ตอนในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดา
ผู้จัดทำ  นางสาวเสาวลักษณ์ แก้วชัด และนายทศพงศ์ ธรรมจารุวัฒน์
บทคัดย่อ
                แพลงก์ตอนเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ จะล่องลอยไปตามกระแสน้ำ เป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่อาหาร ในการสำรวจความหลากหลายของแพลงก์ตอนในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดาของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดา ตรวจวัดคุณภาพน้ำในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดาจากแพลงก์ตอนที่สำรวจได้ และฝึกทักษะการใช้กล้องจุลทรรศน์ในการหาแพลงก์ตอน
                ในการสำรวจความหลากหลายของแพลงก์ตอนในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดามีวิธีการ คือ เก็บตัวอย่างน้ำจากสระโดยกำหนดจุดต่างๆ ในรอบสระ 5 จุด (A, B, C, D, E) จากนั้นนำมาเทใส่บีกเกอร์ ใช้หลอดหยด หยดน้ำแต่ละจุดบนสไลด์ นำไปส่องดูกล้องจุลทรรศน์ที่กำลังขยาย 10X และ 40X
                ในการสำรวจความหลากหลายของแพลงก์ตอน พบว่ามีแพลงก์ตอนทั้งหมด 2 ดิวิชั่น คือ Chlorophyta และ Cyanophyta โดยทั้งหมดเป็นแพลงก์ตอนพืชมี 6 ชนิด คือ Botryococcus, Haematococus, Phytoplankton, Eudorina, Pseudoanbaena และ Ceratium แพลงก์ตอนที่พบมากที่สุด คือ Haematococus และพบว่าแหล่งน้ำดังกล่าวจัดอยู่ในระดับคุณภาพดี เนื่องจากแพลงก์ตอนที่อาศัยอยู่นั้น ส่วนใหญ่เป็นแพลงก์ตอนที่อยู่ในน้ำสะอาด ในการสำรวจความหลากหลายของแพลงก์ตอนในสระเลี้ยงปลานิลจิตรลดาครั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้พบแพลงก์ตอนจำนวนน้อย เนื่องจากการเก็บตัวอย่างน้ำได้ไม่ทั่วทั้งสระ อีกทั้งแหล่งน้ำนี้ยังเป็นแหล่งน้ำที่ปิดไม่มีการถ่ายเทของน้ำ สิ่งมีชีวิตจึงเข้ามาอาศัยได้น้อย และมีปลานิลที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

ผลงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาตร์

ชื่อวิจัย   การทดสอบวิตามินซีในผักและผลไม้
ผู้จัดทำ  นางสาวกมลทิพย์ อินทคีรี และนางสาวสุดารัตน์ คงเพชร
บทคัดย่อ
การทดสอบการหาค่าวิตามินซีแบบง่าย ๆ ได้โดยการหยดสารละลายไอโอดีนลงในน้ำแป้งสุก จะได้สารผสมสีน้ำเงิน แล้วหยดน้ำผักและผลไม้ที่ต้องการทดสอบหาวิตามินซีลงไป ถ้าสามารถทำให้สารสีน้ำเงินที่ผสมกับน้ำแป้งสุกจางหายไปได้รวดเร็ว จนไม่มีสารละลายผสมสีน้ำเงินอยู่เลยแสดงว่ามีวิตามินซีในผักและผลไม้ที่นำมาทดสอบ
จากการศึกษาและทดสอบพบว่าในน้ำผักคะน้าใช้จำนวนหยดน้อยที่สุดแสดงว่ามีวิตามินซีมากที่สุดรองลงมาคือใบชะมวงและแตงกวา ส่วนการทดสอบวิตามินซีในน้ำผลไม้พบว่าในน้ำแตงโมใช้จำนวนหยดน้อยที่สุดแสดงว่ามีวิตามินซีมากที่สุด รองลงมาคือชมพู่ ส่วนกล้วยไม่พบวิตามินซี ในผักและผลไม้ที่ผู้วิจัยนำมาทดสอบนั้นพบว่ามีวิตามินซีอยู่สูงมากคือผักคะน้าส่วนผักและผลไม้ที่พบวิตามินซีในปริมาณน้อยเนื่องจากมีสารอาหารจำพวกอื่นอยู่มากทั้งนี้เป็นข้อมูลหรือทางเลือกในการบริโภคแก่ผู้บริโภค